
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจเอชไอวี
HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสที่โจมตีระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาของโรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome) หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อผ่านของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ ของเหลวในช่องคลอด และน้ำนมแม่ การตรวเอชไอวี เป็นส่วนสำคัญของการป้องกันและรักษาเอชไอวี เมื่อไหร่ที่ควรตรวจเอชไอวี ช่วงเวลาระหว่างการติดเชื้อเอชไอวีและการปรากฏตัวของแอนติบอดีหรือแอนติเจนในเลือดเรียกว่า “ระยะฟักตัวของเชื้อ” (Window Period) โดยทั่วไประยะฟักตัวของเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 21 วัน ตังนั้นเวลาการตรวจ HIV…

U = U (Undetectable = Untransmittable)
เอชไอวี เป็นโรคที่มีมานานหลายทศวรรษแล้ว อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้สามารถจัดการกับไวรัสได้ ทำให้ผู้คนมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและมีสุขภาพที่ดีขึ้น หนึ่งในการพัฒนาที่สำคัญที่สุดในการจัดการเอชไอวี คือแนวคิดของ Undetectable = Untransmittable (U=U) หมายความว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้ บทความนี้จะอธิบายว่า U=U หมายถึงอะไร ทำงานอย่างไร และเหตุใดจึงจำเป็นสำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี Undetectable = Untransmittable คืออะไร (U=U)? Undetectable = Untransmittable (U=U) เป็นคำที่ใช้อธิบายแนวคิดที่ว่าบุคคลที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส…

การตรวจ HIV มีผลกี่แบบ ?
การตรวจ HIV เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ทราบว่าเราติดเชื้อ HIV หรือไม่ เนื่องจากว่าเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจนในช่วงแรก ส่งผลให้อัตราการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผู้ติดเชื้อบางรายนั้นไม่ทราบเลยว่าตนมีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ทุกคนเข้ารับการตรวจ HIV อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ใครบ้างที่ควรตรวจ HIV ? ความหมายของผลตรวจ HIV มีอะไรบ้าง? Positive หากคุณได้รับผลการตรวจที่แสดงผลเป็น Reactive หรือ Positive ซึ่งส่วนใหญ่อาจรู้จักกันจากคำว่า “เลือดบวก”…

เอชไอวี..โรคร้ายแต่ป้องกันได้
เอชไอวี เป็นเชื้อที่มีความร้ายแรง และน่ากลัวเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการไหน หรือยาตัวไหนที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ ทั้งยังในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จะดีกว่าไหมหากเรารู้จักวิธีการป้องกันไว้ก่อนเพื่อให้ตัวเราปลอดภัยจากโรคร้ายนี้ เอชไอวี (HIV) คืออะไร ? เอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อของโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค…

แนวทางการรักษาที่ได้ผลดีสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน
การติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นต้องมีอาการเอดส์ หากรู้เร็วด้วย การตรวจเลือด และรักษาเร็วด้วยยาต้านไวรัส โดยสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีที่พบบ่อยที่สุด คือ ติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ สัมผัสเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่น้ำนมแม่ก็สามารถแพร่เชื้อเอชไอวีได้เช่นกัน การติดเชื้อเอชไอวีแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน คือ การรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีเท่านั้น เพราะช่วยในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด เมื่อจำนวนเชื้อลดลง ร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น โอกาสในการเจ็บป่วยด้วยโรคฉวยโอกาสจึงลดลง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากสามารถทำงานและดำรงชีวิตตามปกติได้ …

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้ไปสู่ภาวะเอดส์ ?
ปัจจุบันเราไม่มีทางจะแยกออกได้แน่ ว่าใครติดหรือไม่ติดเชื้อเอชไอวี หากเจ้าตัวไม่ได้บอกโดยตรง เพราะว่าสุขภาพของผู้ติดเชื้อเไอวีนั้น ก็ดีไม่ต่างกับบุคคลโดยทั่วไป เนื่องจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสามารถเข้ารักษาได้ฟรีที่สถานพยาล โดยสิทธิที่เข้ารับการรักษาสามารถใช้ได้ทั้ง สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ หรือสิทธิบัตรทอง ถ้าหากผู้ติดเชื้อเไอวี เข้ารับการรักษาได้ทันเวลา และปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ก็จะไม่แสดงอาการอะไรออกมา การดูแลตัวเองเมื่อติดเชื้อ HIV ควรทำความเข้าใจว่ามันเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเป็น เพราะรักษาไม่หายขาด และทำให้โอกาสในการทำบางสิ่ง บางอย่างขาดหายไป ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะของตนเอง และศึกษาวิธีการดูแลรักษาตนเองอย่างเหมาะสม โดยสิ่งที่คุณควรทำอย่างแรก และทำให้ไวที่สุด คือ…

รู้เท่าทัน ป้องกัน ลดเสี่ยงเป็นโรคเอดส์
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าผิดว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอด์ เป็นโรคเดียวกัน จริงๆ แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อเชื้อเอชไอวี ระยะแรกจะยังไม่เป็นโรคเอดส์จนผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อ จึงจะเรียกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ โรคเอดส์คืออะไร? โรคเอดส์ (AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes) A = Acquired หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด I = Immune หมายถึง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานของร่างกาย D…

STI โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ควรรู้
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีผลกระทบต่อทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อบางอย่างสามารถรักษาได้เพื่อให้คุณ และคู่นอนของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรง และคุณเองสามารถป้องกันตัวเองจากการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ STI คืออะไร? โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections; STI) คือ การติดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยผ่านการจูบ, การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (การใช้ปากกับอวัยวะเพศ), การร่วมเพศ (องคชาตในช่องคลอด องคชาตในทวารหนัก), การใช้เซ็กซ์ทอย รวมถึง การติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์…