โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ภัยร้ายอันตรายถึงชีวิต

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แล้วทำให้เกิดโรค ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลัน โดยสามารถเป็นได้ทั้ง ผู้ชายและผู้หญิง

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร ?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases: STD) คือกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศกับคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ทั้งจากการร่วมเพศ ทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก และสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผ่านการถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มร่วมกันได้เหมือนกัน

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจจากอะไร?

การตรวจสามารถทำได้หลายวิธี แพทย์จะเลือกการตรวจที่เหมาะสมที่สุดจากการซักประวัติ ซึ่งวิธีตรวจหลักๆ จะมีดังนี้

  1. ตรวจเลือดหรือปัสสาวะ เป็นการตรวจที่นิยิมที่สุด เพราะสามารถตรวจได้หลายโรค เช่น เชื้อเอชไอวี เริม หนองใน ซิฟิลิส และไวรัสตับอักเสบ
  2. ตรวจภายใน (Pap smears) ปกติแล้วการตรวจด้วยวิธีแปป สเมียร์ เป็นการตรวจเพื่อสังเกตอาการเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูก แต่มะเร็งปากมดลูกก็อาจเกิดจากการติดเชื้อ HPV เมื่อมีเพศสัมพันธ์ได้เช่นกัน
  3. ตรวจสารคัดหลั่ง ในบางกรณีแพทย์อาจใช้การเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ ปากมดลูก ทางเดินปัสสาวะ หรือทวารหนัก เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อได้
  4. ตรวจร่างกาย ในกรณีที่อาการเริ่มแสดงออกมาให้เห็นแล้ว การตรวจร่างกายก็สามารถใช้ประกอบการวินิจฉัยได้ เช่น เริม หูด ซิฟิลิส เป็นต้น

อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • ปวด หรือมีตุ่ม มีผื่น หรือแผล ภายนอกอวัยวะเพศ ภายในอวัยวะเพศ หรือบริเวณทวารหนัก
  • มีของเหลวเป็นเมือกใส หรือหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ
  • มีตกขาวสีเหลืองมีกลิ่น มีอาการคัน หรือระคายเคือง และตกขาวผิดปกติแบบเรื้อรังเป็นๆหายๆ
  • อวัยวะเพศหญิงมีเลือดไหลผิดปกติ
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบบวม ปวดบริเวณขาหนีบ
  • ปวดท้องน้อย หรือเจ็บเสียวท้องน้อย
  • มีไข้
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • เป็นฝี 
  • เชื้อบางชนิด อาจไม่แสดงอาการในระยะแรก หรือบางระยะโรค เช่น หูดหงอนไก่ชนิดที่ก่อมะเร็งปากมดลูก (High risk group HPV), เริม, เอดส์, ซิฟิลิสบางระยะ เป็นต้น

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใครที่ควรตรวจ ?

  • กำลังวางแผนมีบุตรหรือแต่งงาน เชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคสามารถส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ได้
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยาง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งในช่องคลอด น้ำอสุจิ และเลือด หากไม่ใช้ถุงยางก็มีโอกาสสูงมากที่จะติดโรค
  • เพิ่งเปลี่ยนคู่นอนใหม่ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายโรคไม่มีอาการแสดงออกให้รู้ได้เลย ดังนั้นเราไม่อาจแน่ใจได้ว่าคู่นอนของเรามีเชื้อหรือไม่
  • จับได้ว่าแฟนแอบเปลี่ยนคู่นอน เนื่องจากเชื้อสามารถส่งต่อกันได้แม้จะเพิ่งรับเชื้อก็ตาม
  • มีคู่นอนหลายคน หากมีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน ก็ควรเข้ารับการตรวจ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไว้เพื่อความชัวร์
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ มีโอกาสเสี่ยงอย่างมากที่จะติดโรคจากการถูกล่วงละเมิด เพราะไม่ทราบถึงสุขอนามัยของผู้กระทำ
  • เริ่มมีอาการของโรค โรคบางโรคก็อาจแสดงอาการออกมาให้เห็นชัดเจน เช่น ซิฟิลิส หนองใน อาจมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ปัสสาวะแล้วเจ็บ เป็นต้น

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ป้องกันอย่างไร ?

  • ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์   
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • รักษาความสะอาดร่างกาย และอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ                                          
  • ตรวจโรคเป็นประจำทุกปี
  • ปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติ

การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต 

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

Related Posts

อาการ HPV ในผู้ชายและผู้หญิง

อาการ HPV ในผู้ชายและผู้หญิง

อาการ HPV ในผู้ชายและผู้หญิง Human Papillomavirus (HPV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับความนิยมสูงซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งชายและหญิง เป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อไวรัสที่พบมากที่สุดในโลก การติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ช่องคลอด ทวารหนัก และออรัลเซ็กซ์ ความชุกของ HPV จะแตกต่างกันในประชากรและกลุ่มอายุ ในหลายกรณีเชื้อจะแก้ไขได้เองและไม่ก่อให้เกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนใด ๆ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อ HPV อย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงหูดที่อวัยวะเพศและมะเร็งบางชนิดเช่นมะเร็งปากมดลูกมะเร็งทวารหนักและมะเร็งปากและคอหอย การฉีดวัคซีน HPV ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับเชื้อ HPV ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการป้องกันและการตรวจหาเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอและการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ HPV ทั้งชายและหญิง

ทางเลือกการ รักษาโรคซิฟิลิส

ทางเลือกการ รักษาโรคซิฟิลิส

ทางเลือกการ รักษาโรคซิฟิลิส ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Treponema Pallidum การวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง การ รักษาโรคซิฟิลิส เบื้องต้น คือการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยหลักๆ คือเพนิซิลลิน สูตรยาปฏิชีวนะเฉพาะขึ้นอยู่กับระยะของโรค สำหรับซิฟิลิสระยะแรก ระยะที่สอง และระยะแฝงระยะแรก แนะนำให้ฉีดเพนิซิลลิน จี เบนซาทีนเพียงครั้งเดียว ซิฟิลิสระยะแฝง และระยะหลังอาจต้องฉีดหลายครั้ง อาจมีการกำหนดยาปฏิชีวนะทางเลือก เช่น Doxycycline หรือ Tetracycline สำหรับผู้ป่วยที่แพ้เพนิซิลลิน การติดตามและทำการตรวจเชื้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ และต้องมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย พร้อมเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของซิฟิลิส และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

ตรวจแปปสเมียร์ ในผู้หญิงมีความสำคัญอย่างไร

ตรวจแปปสเมียร์ ในผู้หญิงมีความสำคัญอย่างไร

ตรวจแปปสเมียร์ ในฐานะผู้หญิง สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ความใส่ใจ กับสุขภาพของคุณ และดำเนินการ เพื่อป้องกันตัวเองจากปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้น หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ที่คุณสามารถทำได้คือ ตรวจแปปสเมียร์ เป็นประจำ การตรวจนี้เป็นส่วนสำคัญในการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิง ในบทความนี้ เราจะให้ภาพรวมว่าการ ตรวจแปปสเมียร์ คืออะไร เหตุใดจึงมีความสำคัญ และสิ่งที่คุณคาดหวังได้ระหว่างการ ตรวจแปปสเมียร์ นอกจากนี้ เราจะกล่าวถึงความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับการ ตรวจแปปสเมียร์ และให้คำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับการตรวจคัดกรองครั้งต่อไปของคุณ

โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้นที่ควรระวัง

โรคผิวหนังบริเวณจุดซ่อนเร้นที่ควรระวัง

โรคผิวหนัง (Skin Disease) คือโรคภัยอีกชนิดที่สามารถพบได้มากในประเทศไทยที่เต็มไปด้วยอากาศร้อนอบอ้าว และมลพิษ หรือเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อโรค ซึ่งมีหลายโรคผิวหนังที่ถูกมองข้ามไป เนื่องจากโรคมักพบได้ง่ายในชีวิตประจำวัน  แต่โรคผิวหนังในที่ลับสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องที่ควรต้องปกปิด หรือต้องอาย เพราะหากไม่รีบตรวจวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาอาจจะส่งผลให้โรคผิวหนังเกิดการลุกลามจนเจ็บป่วยมากขึ้น รักษาได้ยากขึ้น รักษาไม่หายขาด และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มมากขึ้น ดั ดังนั้นหากเกิดความสงสัยว่าเป็นโรคผิวหนังต่างๆ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และเป็นยังวิธีการที่ดีที่สุดอีกด้วย โรคผิวหนังในที่ลับมีดังต่อไปนี้ 1. หูด (wart) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส human papilloma virus (HPV)…

.ออรัล เซ็กส์ กับความเสี่ยงที่คุณควรรู้

ออรัล เซ็กส์ กับความเสี่ยงที่คุณควรรู้

ออรัล เซ็กส์ ถือเป็นวิธีการมีเพศสัมพันธ์ อย่างหนึ่งที่ทำให้คู่รักรู้สึกเพลิดเพลิน หากทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจ แต่ในบางครั้งการทำออรัลเซ็กส์อาจนำมาซึ่งโรคร้ายต่าง ๆ ได้ เช่น โรคติดเชื้อเอชพีวี ซิฟิลิส หรือแม้กระทั่งโรคเอดส์ ดังนั้น ก่อนจะทำออรัล เซ็กส์ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค และการทำออรัล เซ็กส์อย่างปลอดภัย ออรัล เซ็กส์ (Oral Sex) คือ อะไร ? การใช้ช่องปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น…

ความแตกต่างระหว่างโรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียม

ความแตกต่างระหว่างโรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียม

หนองใน เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน จึงสามารถรับเชื้อได้โดยง่ายแบบไม่ทันตั้งตัว และบ่อยครั้งผู้ป่วยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหนองในทั้ง หนองในแท้ และเทียม ว่ามีความแตกต่างกันยังไง? เมื่อเป็นโรคหนองในแล้วกี่วันจะหาย?  อาการจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน? โรคหนองในเป็นแล้วรักษาหายหรือไม่? หรือเป็นแล้วไม่รักษาได้ไหมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองในมากขึ้น ป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง  หนองในมีกี่ประเภท โรคหนองในแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดได้แก่ โรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียม โรคหนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื้อว่า ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoea)  สามารถติดต่อได้ทั้งชายและหญิงรวมทั้งทารกแรกเกิด โรคหนองในแท้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีระยะการฟักตัวสั้น…