เอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

PPE เกิดจากอะไร?

โรคตุ่มคันในคนที่เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี จะมีอาการแสดงหลายระดับขึ้นอยู่กับระยะติดใหม่ๆ ถ้ามีการดูแลร่างกายดี ภูมิคุ้มกันยังดีอยู่ ก็จะไม่มีอาการอะไรเหมือนคนปกติทั่วไป ถ้าไม่มีการตรวจเลือดก็จะไม่ทราบว่าผู้นั้นมีเชื้อ HIV อยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หากไม่กินยาต้านไวรัส หรือปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์แนะนำ ภูมิคุ้มกันก็จะลดลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่างๆทำให้เจ็บป่วยได้ 

PPE คืออะไร?

PPE ย่อมาจาก Pruritic Papular Eruption in HIV ซึ่ง PPE นั้น มักพบในผู้ป่วย HIV ที่มีอาการมากแล้ว โดยรอยโรค PPE อาจเป็นตัวสะท้อนบอกสถานะของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยได้ คือการมี PPE อาจหมายถึงภาวะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต่ำแล้ว

สาเหตุของตุ่ม PPE

PPE เกิดจากอะไร?

ยังไม่ทราบกลไกการเกิดและสาเหตุ ของการเกิด ตุ่ม PPE อย่างชัดเจน เชื่อว่าเป็นปฏิกิริยาการแพ้ของผิวหนังของผู้ป่วยต่อแมลงกัดต่อย เช่น มด ยุง ดังจะเห็นได้ว่า PPE พบได้มากกว่าที่บริเวณนอกร่มผ้า

PPE ติดต่อมั้ย 

PPE ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ เชื้อ HIVเป็นโรคติดต่อ ควรระวัง โดยการไม่สัมผัสเลือดหนองจากแผล เพราะ เชื้อ HIV สามารถติดต่อทางสารคัดหลั่งต่างๆจากร่างกาย เข้าทางผิวหนังที่มีแผลของเราได้

ลักษณะตุ่ม PPE

  • ลักษณะเป็นตุ่มคัน คล้ายยุงแมลงกัด มีรอยแดงอักเสบ รอยดำหลังการอักเสบ อาจมีหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่มาจากการเกา
  • พบได้ทั้งในและนอกร่มผ้า โดยพบที่บริเวณนอกร่มผ้าได้บ่อยกว่า
  • พบในระยะที่ภูมิคุ้มกันต่ำ คือ อาการของโรคเอดส์ เป็นค่อนข้างมากแล้ว
  • มีอาการเรื้อรัง
  • มีอาการคันมากจึงพบมีรอยเกาและมีรอยดำ รอยแผลเป็นหลังเกาอยู่
  • มักเป็นที่แขนขา มากกว่าที่ใบหน้าค่ะ

อาการของการเกิดตุ่ม PPE

หากตุ่มที่เกิดขึ้นนั้น ยุบลงภายใน 5 วัน ก็ไม่น่าใช่ตุ่ม PPE อีกทั้ง หากไม่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อก็ไม่น่าจะเป็นผู้ที่ติดเชื้อ HIV เพราะว่าตุ่ม PPE นั้น มักพบในผู้ป่วยที่เป็นติดเชื้อแล้ว และอาจจะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด เหงื่อออกตอนกลางคืน ท้องเสียเรื้อรัง เป็นต้น 

ห้ามเกา

การรักษาตุ่ม PPE

โดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการ คือ ห้ามเกา ดูแลผิวไม่ให้แห้ง กินยาแก้แพ้แก้คัน ทายาแก้คัน แต่การทายา จริงๆแล้วก็ช่วยให้หายคันชั่วคราว ถ้าจะรักษาให้ตุ่มหายและไม่คัน ควรเพิ่มภูมิคุ้มกันจะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ เพราะตุ่มนี้มาจากเมื่อภูมิคุ้มกันลดลงร่างกายติดเชื้อต่างๆแทรกซ้อนได้ง่าย จึงติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังได้ ทำให้เกิดเป็นตุ่มคัน และอาจมีหนอง

  • ห้ามเกา –  เพราะยิ่งเกาจะยิ่งเป็นมากขึ้น และทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนด้วย
  • ดูแลผิวไม่ให้ผิวแห้ง – เพื่อลดอาการคัน ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้นกับผิวเป็นประจำ
  • กินยาแก้แพ้ – antihistamine เพื่อลดอาการคัน ถ้าเป็นชนิดง่วงเล็กน้อยเช่น Hydroxyzine ก็จะช่วยลดอาการคันได้ดีขึ้น
  • ทายาสเตียรอยด์ – ที่มีความเข้มข้นสูง เช่น clobetasol  ลดการคันและอักเสบที่ตุ่ม ยาสเตียรอยความเข้มข้นสูงไม่ควรใช้นานเกินสองถึงสามสัปดาห์ เพราะมีผลข้างเคียงทำให้ผิวบาง ช่วงที่ไม่คันมากตุ่มไม่หนาควรใช้ความเข้มข้นปานกลาง TA cream แทน

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติม

ยาต้านหรือยารักษาเอชไอวี คืออะไร

การตรวจเอชไอวีมีประโยชน์อย่างไร

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ :

  • ตุ่ม PPE คือ? https://apcocapsules.com/เรื่องของตุ่ม-ppe-c20159155092406
  • ตุ่ม PPE คืออะไร http://www.skinanswer.org/โรคผิวหนัง/ตุ่ม-ppe-คืออะไร/

Related Posts

อาการ HPV ในผู้ชายและผู้หญิง

อาการ HPV ในผู้ชายและผู้หญิง

อาการ HPV ในผู้ชายและผู้หญิง Human Papillomavirus (HPV) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับความนิยมสูงซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งชายและหญิง เป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อไวรัสที่พบมากที่สุดในโลก การติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ช่องคลอด ทวารหนัก และออรัลเซ็กซ์ ความชุกของ HPV จะแตกต่างกันในประชากรและกลุ่มอายุ ในหลายกรณีเชื้อจะแก้ไขได้เองและไม่ก่อให้เกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนใด ๆ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อ HPV อย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงหูดที่อวัยวะเพศและมะเร็งบางชนิดเช่นมะเร็งปากมดลูกมะเร็งทวารหนักและมะเร็งปากและคอหอย การฉีดวัคซีน HPV ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับเชื้อ HPV ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการป้องกันและการตรวจหาเชื้อตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอและการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ HPV ทั้งชายและหญิง

มุมมองของ LGBTQ+ ต่อผู้ติดเชื้อ

มุมมองของ LGBTQ ต่อผู้ติดเชื้อ

มุมมองของ LGBTQ ต่อการอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี เป็นการเดินทางที่ซับซ้อนซึ่งผสมผสานกับประสบการณ์ของกลุ่มความหลากหลายทางเพศในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร เรื่องเล่าของกลุ่มความหลากหลายทางเพศที่อาศัยอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบรรทัดฐานทางสังคมที่ท้าทาย ทำลายแบบแผนเดิมๆ และส่งเสริมการเสริมอำนาจภายในชุมชนเหล่านี้ บทความนี้เจาะลึกมุมมองที่หลากหลายและสมบูรณ์ของกลุ่มความหลากหลายทางเพศที่อาศัยอยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี โดยสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มความหลากหลายทางเพศและวิกฤตโรคเอดส์ ด้วยการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องราวส่วนบุคคล ความยืดหยุ่น การเคลื่อนไหว และการเรียกคืนอัตลักษณ์ เรามีเป้าหมายที่จะท้าทายการตีตรา การเลือกปฏิบัติเหล่านี้ เราสามารถเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบมีส่วนร่วม การสนับสนุนการทำงานร่วมกัน และความต้องการอย่างต่อเนื่องในการสร้างพื้นที่ที่ให้อำนาจแก่กลุ่มความหลากหลายทางเพศที่อาศัยอยู่กับเชื้อเอชไอวี ความเชื่อมโยงระหว่างเอชไอวีและชุมชน LGBTQ เอชไอวีและกลุ่มความหลากหลายทางเพศเป็นหัวข้อที่สำคัญและซับซ้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่บุคคลที่ระบุว่าเป็นกลุ่มความหลากหลายทางเพศและคนข้ามเพศต้องเผชิญและยังได้รับผลกระทบจากเอชไอวีหรือโรคเอดส์ ในอดีตกลุ่มความหลากหลายทางเพศได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเชื้อ HIV/AIDS เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงการตีตราทางสังคมการเลือกปฏิบัติการขาดการดูแลสุขภาพและอุบัติการณ์ของพฤติกรรมบางอย่างที่สูงขึ้น ต่อไปนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อพูดถึงกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และ…

ทางเลือกการ รักษาโรคซิฟิลิส

ทางเลือกการ รักษาโรคซิฟิลิส

ทางเลือกการ รักษาโรคซิฟิลิส ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากแบคทีเรีย Treponema Pallidum การวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง การ รักษาโรคซิฟิลิส เบื้องต้น คือการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยหลักๆ คือเพนิซิลลิน สูตรยาปฏิชีวนะเฉพาะขึ้นอยู่กับระยะของโรค สำหรับซิฟิลิสระยะแรก ระยะที่สอง และระยะแฝงระยะแรก แนะนำให้ฉีดเพนิซิลลิน จี เบนซาทีนเพียงครั้งเดียว ซิฟิลิสระยะแฝง และระยะหลังอาจต้องฉีดหลายครั้ง อาจมีการกำหนดยาปฏิชีวนะทางเลือก เช่น Doxycycline หรือ Tetracycline สำหรับผู้ป่วยที่แพ้เพนิซิลลิน การติดตามและทำการตรวจเชื้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ และต้องมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย พร้อมเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของซิฟิลิส และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

ตรวจแปปสเมียร์ ในผู้หญิงมีความสำคัญอย่างไร

ตรวจแปปสเมียร์ ในผู้หญิงมีความสำคัญอย่างไร

ตรวจแปปสเมียร์ ในฐานะผู้หญิง สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ความใส่ใจ กับสุขภาพของคุณ และดำเนินการ เพื่อป้องกันตัวเองจากปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้น หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ที่คุณสามารถทำได้คือ ตรวจแปปสเมียร์ เป็นประจำ การตรวจนี้เป็นส่วนสำคัญในการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของผู้หญิง ในบทความนี้ เราจะให้ภาพรวมว่าการ ตรวจแปปสเมียร์ คืออะไร เหตุใดจึงมีความสำคัญ และสิ่งที่คุณคาดหวังได้ระหว่างการ ตรวจแปปสเมียร์ นอกจากนี้ เราจะกล่าวถึงความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับการ ตรวจแปปสเมียร์ และให้คำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับการตรวจคัดกรองครั้งต่อไปของคุณ

ประวัติโรคเอดส์ และผลกระทบต่อไทย

ประวัติโรคเอดส์ และผลกระทบต่อไทย

ประวัติโรคเอดส์ และผลกระทบต่อไทย โดยโรคเอดส์และเอชไอวี มีผลกระทบอย่างมากต่อโลก นับตั้งแต่มีการบันทึกผู้ป่วยรายแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1980 การแพร่ระบาดได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายล้านคน และได้ท้าทายผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในการหาวิธีรักษา ในบทความนี้ เราจะสำรวจประวัติการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และผลกระทบต่อบุคคลและสังคม

เอชไอวี..ไวรัสร้ายที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด

เอชไอวี..ไวรัสร้ายที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด

เอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสที่ร้ายแรงและสามารถทำให้เกิดโรคเอดส์ได้ เป็นโรคที่ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมได้ ในปัจจุบัน การรักษาเอชไอวีและโรคเอดส์ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป เอชไอวี คืออะไร ? เอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus : HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของคน คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวซีดีโฟร์ (CD4 cells) หรือ ทีเซลล์ (T cells) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ เมื่อเชื้อไวรัส…